ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

อัตราตายปรับฐาน

standardized death rate

อัตราตายของประชากรหนึ่งที่ปรับให้มีโครงสร้างอายุเหมือนของประชากรมาตรฐาน วิธีการคำนวณอัตราตายปรับฐานมีสองวิธี คือ (1) อัตราตายปรับฐานโดยตรง (direct standardized death rate) คำนวณโดยนำอัตราตายรายอายุของประชากรที่ศึกษาปรับเข้ากับโครงสร้างอายุของประชากรมาตรฐาน และ (2) อัตราตายปรับฐานโดยอ้อม (indirect standardized death rate) คำนวณโดยนำอัตราตายรายอายุของประชากรมาตรฐานมาปรับเข้ากับโครงสร้างอายุของประชากรที่ศึกษา

อัตราตายปรับฐาน ใช้เพื่อแก้จุดอ่อนของอัตราตาย (crude death rate - CDR) ซึ่งเป็นอัตราที่ไม่ได้นำเอาโครงสร้างอายุประชากรมาใช้ในการคำนวณด้วย อัตราตายที่สูงมากของประชากรกลุ่มหนึ่ง อาจเป็นเพราะประชากรกลุ่มนั้นมีประชากรวัยสูงอายุมากก็ได้ เช่น ประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีประชากรสูงอายุเป็นสัดส่วนที่สูง จะมีอัตราตายที่สูงเกินกว่า 10 ต่อประชากร 1,000 คนขึ้นไป ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ เช่น ประเทศไทยมีอัตราตายเพียง 7-8 ต่อประชากร 1,000 คน เท่านั้น ดังนั้นการนำเอาอัตราตายมาเปรียบเทียบกันอาจจะไม่เห็นภาพที่ชัดเจนนัก เพราะโครงสร้างอายุของประชากรมีส่วนสำคัญที่ทำให้อัตราตายผันแปรไป ถ้าต้องการขจัดอิทธิพลของโครงสร้างอายุที่มีต่ออัตราตายแล้ว ก็อาจใช้วิธีการปรับฐานอายุ หรือ ใช้อัตราตายรายอายุ (age-specific death rate- ASDR) หรือ ดัชนีวัดการตายอย่างอื่นที่ควบคุมโครงสร้างอายุของประชากรแล้ว

 

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015